การออกแบบวิจัย
การออกแบบวิจัย เป็นแผนการ โครงสร้าง และกลวิธี
เพื่อที่จะค้นหาคำตอบของคำถามหรือปัญหาการวิจัย
แผนการนี้เป็นแผนการวิจัยที่สมบูรณ์ซึ่งประกอบไปด้วย
แบบร่างตั้งแต่สมมติฐานจนกระทั่งถึงวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล (Kerlinger, 1986, cited in Kumar,
1999)
การออกแบบวิจัย เป็นโครงการ หรือแผนแสดงรายการที่จะบอกว่าการศึกษาวิจัยนั้น
ๆ จะทำให้สำเร็จได้อย่างไร
ซึ่งได้แก่
การนิยามตัวแปรเชิงปฏิบัติการ
วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรที่สนใจจะศึกษา วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
และวิธีการวิเคราะห์ผลการวิจัย (Thyer,
1993, cited in Kumar, 1999)
การออกแบบวิจัย เป็นกระบวนการที่กำหนดขึ้นโดยนักวิจัยเพื่อที่จะตอบคำถามการวิจัยอย่างถูกต้อง
ตรงตามวัตถุประสงค์ แม่นยำ และด้วยความประหยัด (Kumar, 1999)
การออกแบบวิจัย
เป็นแผนการที่สร้างขึ้นสำหรับการศึกษาวิจัยที่มีการควบคุมปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความถูกต้องของผลการวิจัย
ซึ่งแผนการวิจัยจะไปชี้แนวทางให้แก่ผู้ทำวิจัยในเรื่องการวางแผนการวิจัยและการนำแผนการวิจัยไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การวิจัยที่ได้ตั้งไว้ (Burns & Grove, 1997)
นอกจากนี้
Burns & Grove (1997) ได้เสนอว่า
คำว่า “Research design” นั้นได้ถูกนำมาใช้ในความหมาย 2
ด้านคือ หมายถึง
กลยุทธ์ทั้งหมดในการทำวิจัยตั้งแต่การกำหนดปัญหาจึงถึงการวางแผนเพื่อที่จะเก็บรวบรวมข้อมูล และหมายถึงการกำหนดลักษณะที่ชัดเจนที่จะกระทำในการวิจัยนั้น
ๆ
การออกแบบวิจัยหมายถึง
การวางแผนและการจัดโครงการการวิจัย
ตั้งแต่การกำหนดปัญหาการวิจัยจนถึงการทำรายงานและการพิมพ์เผยแพร่ (สิน พันธุ์พินิจ, 2549)
สรุป
การออกแบบวิจัยเป็นกระบวนการในการวางแผนการดำเนินการวิจัยที่มีระบบ
และมีขั้นตอนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการในการตอบปัญหาการวิจัยตามจุดประสงค์/สมมุติฐานของการวิจัยที่กำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง
ชัดเจน รวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือ
แบบการวิจัยเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวของผู้วิจัยชึ่งกำหนดโครงสร้าง แผนการปฏิบัติการวิจัยหรือยุทธวิธีเพื่อใช้ในการตรวจสอบการดำเนินการวิจัยว่าเป็นไปตามเวลาที่กำหนดไว้หรือไม่
ซึ่งงานวิจัยแต่ละเรื่องที่เหมาะสมกับแบบการวิจัยแต่ละแบบ
สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบวิจัยคือการมีหรือไม่มีการจัดกระทำแก่กลุ่มตัวอย่าง จำนวนกลุ่มของตัวอย่าง จำนวนครั้งของการวัด ช่วงเวลาที่ใช้วัด วิธีการสุ่มตัวอย่าง ช่วงเวลาของการเก็บรวบรวมข้อมูล และการควบคุมตัวแปรภายนอก
ซึ่งผู้วิจัยสามารถใช้คำตอบของคำถามเหล่านี้ช่วยในการเลือกแบบการวิจัย (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, 2538)
อ้างอิงจาก วิราพร พงศ์อาจารย์. (2542). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. คณะครุศาสตร์
สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น