การศึกษาความหมายทฤษฎีการวิจัยและลักษณะของการวิจัย

ความสำคัญ
                ผลจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542 หมวด 4 มาตรา 24 (5) กล่าวว่า    “ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียนการสอนและอำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอน และแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆและมาตรา 30  กล่าวว่า ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา
ความหมาย
                การวิจัย (Research) หมายถึง กระบวนการค้นคว้าหาข้อมูล หาคำตอบ การแก้ปัญหา โดยวิธีการที่เป็นระบบ หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือวิธีการที่เชื่อถือได้
          การวิจัยในชั้นเรียน คือ กิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างครูและนักเรียน และบทบาทครู คือ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรให้กับนักเรียนทั้งชั้น       การสอนในชั้นเรียนไม่ใช่การบอกหนังสือ หรือการบอกให้จดหนังสืออย่างเดียว การสอนในชั้นเรียนครูจะต้องจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนทั้งชั้นซึ่งมีความสามารถพื้นฐานแตกต่างกันออกไป ทำให้บางครั้งเกิดปัญหากับผู้สอนที่ต้องจัดกิจกรรมหลากหลายสนองตอบต่อผู้เรียนแต่ละคน การสอนควบคู่กับการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนในชั้นมาวิเคราะห์ ศึกษาสภาพ จึงเป็นสิ่งจำเป็นต้องดำเนินการตลอดเวลา การวิจัยในชั้นเรียนจะเกิดขึ้นหลังจากครูสรุปได้ว่าปัญหาคืออะไร เกิดที่ไหนและมีแนวทางจะแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร กล่าวคือ ครูคิดหาวิธีการแก้ปัญหาแล้วได้นำไปทดลองใช้จนได้ผลแล้วพัฒนาเป็นนวัตกรรม สามารถนำไปเผยแพร่ได้ต่อไป การวิจัย ในชั้นเรียนควรมีลักษณะ คือ
1.       เป็นการวิจัยจากปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนเกี่ยวกับการเรียนการสอน
2.       ทำการวิจัยเพื่อนำผลวิจัยไปพัฒนาการเรียนการสอน
3.       ทำการวิจัยควบคู่กับการเรียนการสอน คือ สอนไปวิจัยไป แล้วนำผลการวิจัยไปใช้แก้ปัญหาในชั้นเรียน และทำการเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น

อ้างอิงจาก   วิทยา    ใจวิถี   ศึกษานิเทศก์ 8  ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ
ลักษณะของการวิจัยในชั้นเรียนมีจุดเด่นที่แตกต่างจากการวิจัยอื่นๆ ดังนี้
๑. ครูเป็นผู้วิจัยเอง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่วงการวิชาชีพครู
๒. ผลการวิจัยสามารถแก้ปัญหาผู้เรียนได้ทันเวลา และตรงจุด
๓. การวิจัยช่วยเชื่อมช่องว่างระหว่างทฤษฏีและการปฏิบัติ
๔. การเพิ่มศักยภาพการคิดสะท้อน (Reflective Thinking) ของครูต่อปัญหาที่เกิดในห้องเรียน
๕. การเพิ่มพลังความเป็นครูในวงการการศึกษา
๖. การเปิดโอกาสให้ครูก้าวหน้าทางวิชาการ
๗. การพัฒนา และทดสอบการแก้ปัญหาในชั้นเรียน
๘. การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเรื่องการเรียนการสอน และทางแก้ปัญหา
๙. การนำเสนอข้อค้นพบและการรับฟังข้อเสนอแนะจากกลุ่มครู
๑๐. การวิจัยและพัฒนาเป็นวงจร (Cycle) เพื่อทำให้ข้อค้นพบสมบูรณ์ขึ้น
โดยที่จุดมุ่งหมายของการวิจัยเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นการเขียนรายงานการวิจัยจึงขึ้นอยู่กับผู้วิจัยว่าจะนำผลวิจัยไปทำอะไร แต่ลักษณะของการวิจัยต้องสอดคล้องตามที่ได้กล่าวแล้ว
อ้างอิงจาก ชุดฝึกปฏิบัติการออกแบบงานวิจัยชั้นเรียนนี้ได้ประยุกต์ใช้ของ 

ผศ.ดร. ทิวัตถ์   มณีโชติ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รูปแบบการวิจัย (Research Design)

ประโยชน์ของการวิจัย

SU Model